ระยะแรกของการครองราชย์ ของ ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์แห่งบัลแกเรีย

ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ทรงเป็นพระราชโอรสของสรัตซีมีร์ เดสเปิต (Despot) แห่งเกริน ซึ่งมีบรรพบุรษสืบเชื้อสายจากราชวงศ์อาแซน[7] และเจ้าหญิงแกรัตซา แปตริตซา พระขนิษฐาของซาร์มีคาอิล ชิชมันแห่งบัลแกเรีย[8] ดังนั้นซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์จึงมีความสัมพันธ์เป็นพระภาคิไนยขอซาร์มีคาอิล ชิชมันด้วย[4][5] ในปี ค.ศ. 1330 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเดสเปิตแห่งเมืองโลเวช ในขณะที่พระองค์ดำรงตำแหน่งเดสเปิต พระองค์ได้ร่วมรบในยุทธการที่แวลเบิชด์ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณเมืองกยูสแตนดิล เพื่อต่อต้านเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1330 ร่วมกับพระราชบิดาและบาซารับที่ 1 แห่งวอเลเคีย พระสัสสุระของพระองค์ ซึ่งในยุทธการครั้งนี้ฝ่ายเซอร์เบียได้รับชัยชนะ และการพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ของบัลแกเรีย พร้อมกับปัญหาภายในที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการรุกรานของจักรวรรดิไบแซนไทน์จากความสัมพันธ์ที่เลวร้ายระหว่างกัน นำไปสู่การก่อการรัฐประหารขับไล่ซาร์อีวัน สแตฟันออกจากเมืองหลวงแวลีโกเตอร์โนโวในปี ค.ศ. 1331 และกลุ่มผู้ก่อการได้ทูลเชิญให้อีวัน อาแลกซันเดอร์ขึ้นครองราชบัลลังก์[9]

ภาพจิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัยของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์

ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์มีพระราชดำริในการยึดดินแดนที่สูญเสียให้กับจักรวรรดิไบแซนไทน์กลับคืนมาเพื่อสร้างความมั่นคงในตำแหน่งของพระองค์ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1331 ซาร์อีวันจึงทำการศึกในบริเวณเอดีร์แนและสามารถยึดดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของเธรซกลับคืนมาได้[4][5] ในขณะเดียวกันพระเจ้าสแตฟัน อูรอสที่ 4 แห่งเซอร์เบียได้ปลดพระราชบิดาของพระองค์ (พระเจ้าสแตฟัน อูรอสที่ 3) ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบีย ส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายของบัลแกเรียและเซอร์เบียกลับมาดีขึ้น พระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์สัญญาเป็นพันธมิตรต่อกัน โดยกำหนดให้มีการอภิเษกสมรสระหว่างพระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบียและแอแลนาแห่งบัลแกเรีย ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ในวันอีสเตอร์ ของปี ค.ศ. 1332[4][5][10]

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันแบลาอูร์ ซึ่งเป็นพระอนุชาของซาร์มีคาอิล ชิชมันได้ก่อการกบฎขึ้นที่วีดีน โดยการก่อกบฎครั้งนี้อาจเป็นไปเพื่อช่วยให้ซาร์อีวัน สแตฟัน พระภาคิไนยของพระองค์กลับสู่ราชบัลลังก์อีกครั้ง การปราบปรามกลุ่มกบฎต้องเลื่อนออกไป เมื่อในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1332 จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พาลาโอโลกอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์รุกรานบัลแกเรีย กองทัพของไบแซนไทน์ได้รุกคืบเข้าสู่พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของเธรซ โดยซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทรงรีบนำกองกำลังขนาดเล็กมุ่งลงใต้ไปทันกองทัพของจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ที่รูซอกัสตรอ[10]

ไม่มีซาร์พระองค์ใดที่จะเหมือนกับซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ ในเชิงความสามารถทางการทหาร พระองค์เปรียบเสมือนเป็นอเล็กซานเดอร์มหาราช พระองค์ที่ 2 ในเชิงความเชื่อและความศรัทธา พระองค์เปรียบเสมือนเป็นนักบุญคอนสแตนติน พระองค์ทรงจับศัตรูของพระองค์ไว้ใต้เข่าและได้สร้างสันติภาพที่มั่นคงในจักรวาลนี้ [11]— บทสรรเสริญอีวัน อาแลกซันเดอร์[12]โดยผู้แต่งนิรนามร่วมสมัย

หลังจากที่พระองค์แสดงทรงแสดงท่าทีลวงว่าจะเจรจา ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์พร้อมด้วยกองกำลังเสริมจากกองทัพม้าของชาวมองโกล ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์จึงโจมตีกองทัพไบแซนไทน์ ส่งผลให้กองกำลังของไบแซนไทน์ที่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดกระบวนทัพที่ดีกว่า แต่ด้วยจำนวนที่น้อยกว่าประสบกับความพ่ายแพ้[5] บรรดาเมืองโดยรอบหลายเมืองได้ยอมแพ้ต่อซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ในขณะที่จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ต้องหลบหนีเข้าไปอยู่ในกำแพงเมืองรูซอกัสตรอ สงครามครั้งนี้จบลงเมื่อทั้งสองฝ่ายเจรจาสงบศึก โดยทั้งสองฝ่ายยอมรับสภาวะเดิม (status quo) และเพื่อสร้างพันธมิตรระหว่างกันซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้ขอให้มีการหมั้นหมายระหว่างมาเรีย พระธิดาของจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 กับมีคาอิล อาแซน พระโอรสของพระองค์ และนำไปสู่การอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์ในปี ค.ศ. 1339[5][13] เมื่อจบสงครามกับไบแซนไทน์ พระองค์จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการจัดการกับแบลาอูร์ และสามารถปราบฐานที่มั่นสุดท้ายของกบฎทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือได้สำเร็จในประมาณปี ค.ศ. 1336 หรือ 1337[14]

ในปี ค.ศ. 1332 ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้สถาปนาพระโอรสองค์โตมีคาอิล อาแซนที่ 4 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม (Co–Emperor) และพระองค์ได้ดำเนินแนวทางเช่นนี้ในเวลาต่อมาด้วยการสถาปนาพระโอรสองค์รองอย่างอีวัน สรัตซีมีร์และอีวัน อาแซนที่ 5 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมเช่นกันในปี ค.ศ. 1337 ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่าการกระทำเช่นนี้เป็นไปเพื่อรักษาราชบัลลังก์ไว้ในราชตระกูลของพระองค์ นอกจากนี้ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์อาจมีความตั้งพระทัยที่จะควบคุมเมืองสำคัญภายในดินแดนผ่านการตั้งตำแหน่งจักรพรรดิร่วม ซึ่งพบว่าอีวัน สรัตซีมีร์ได้รับมอบหมายให้ปกครองวีดีน ในขณะที่อีวัน อาแซนที่ 4 อาจได้รับมอบหมายให้ปกครองแปรสลัฟ อย่างไรก็ตามการกระทำเช่นนี้เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของธรรมเนียมบัลแกเรียกับไบแซนไทน์ในการแต่งตั้งตำแหน่ง despotēs เนื่องจากตามธรรมเนียมของไบแซนไทน์ พระโอรสองค์รองจะได้รับการแต่งตั้งเป็น despotēs ไม่ว่าจะมีดินแดนภายใต้การปกครองหรือไม่ก็ตาม[15]

ใกล้เคียง

ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์แห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวัน ชิชมันแห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์แห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวัน วลาดิสลัฟแห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวัน สแตฟันแห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย ซาร์อีวานที่ 5 แห่งรัสเซีย ซาร์อีวัยลอแห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวานที่ 3 แห่งรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์แห่งบัลแกเรีย //kosmos.pass.as/static/kosmos/1963/07/pg_0042.htm http://data.aad.gov.au/aadc/gaz/scar/display_name.... http://synpress-classic.dveri.bg/09-2003/patriarsi... http://bgarmy.eamci.bg/Scripts/isapiVWB.dll/doc?TH... http://www.mfa.government.bg/history_of_Bulgaria/ http://www.mfa.government.bg/history_of_Bulgaria/1... http://www.mfa.government.bg/history_of_Bulgaria/1... http://www.mfa.government.bg/history_of_Bulgaria/6... http://www.infotel.bg/rubrics/manastir/p1.htm http://www.slovo.bg/showbio.php3?ID=14